สาระน่ารู้ กล้องตรวจส่องชิ้นงาน Micro Scope MICROSCOPE กล้องจุลทรรศน์ กล้องจุลทรรศน์ Microscope ที่บริษัทของเราจำหน่ายและนำเข้าจากต่างประเทศกล้องจุลทรรศน์ เป็นคำศัพท์ที่แปลจาก "microscope" ในภาษาอังกฤษ ผูกศัพท์จากภาษากรีก "ไมครอน" (micron) หมายถึง ขนาดเล็ก และ "สกอปอส" (scopos) หมายถึง เป้าหมาย หรือ มุมมอง ประวัติกล้องจุลทรรศน์ไมโครสโคปในการดูสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า เดิมใช้เพียงแว่นขยายและเลนส์อันเดียวส่องดู คงเช่นเดียวกับการใช้แว่นขยายส่องดูลายมือ ในระยะต่อมา กาลิเลอิ กาลิเลโอ ได้สร้างแว่นขยายส่งอดูสิ่งมีชีวิตเล็กๆในราวปี พ.ศ. 2153 นับจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน กล้องจุลทรรศน์Microscope ได้มีการพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง จนกลายไปเป็นกล้องจุลทรรศน์อิเล็คตรอน กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง
คำถาม : กล้องจุลทรรศน์มีกี่แบบ? ตอบ : - Light microscope เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่พบอยู่ทั่วไป โดยเวลาส่องดูจะเห็นพื้นหลังเป็นสีขาว และจะเห็นเชื้อจุลินทรีย์มีสีเข้มกว่า - Dark field microscoe เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่มีพื้นหลังเป็นสีดำ เห็นเชื้อจุลินทรีย์สว่าง เหมาะสำหรับใช้ส่องจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็ก ที่ติดสียาก - Phase contrast microscope ใช้สำหรับส่องเชื้อจุลินทรีย์ที่ยังไม่ได้ทำการย้อมสี จะเห็นชัดเจนกว่า Light microscope - Fluorescence microscope ใช้แหล่งกำเนิดแสงเป็น อัลตราไวโอเลต ส่องดูจุลินทรีย์ที่ย้อมด้วยสารเรืองแสง ซึ่งเมื่อกระทบกับแสง UV จะเปลี่ยนเป็นแสงช่วงที่มองเห็นได้ แล้วแต่ชนิดของสารที่ใช้ พื้นหลังมักมีสีดำ
คำถาม : ส่วนประกอบพื้นฐานของกล้องจุลทรรศน์ทั่วไปมีอะไรบ้าง ตอบ : ส่วนประกอบพื้นฐานของกล้องจุลทรรศน์ทั่วไป ลักษณะของกล้องจุลทรรศน์แบบต่างๆ ฐาน (Base) เป็นส่วนที่ใช้วางบนโต๊ะ แขน (Arm) เป็นส่วนเชื่อมตัวลำกล้องกับฐาน ลำกล้อง (Body tube) เป็นส่วนที่ปลายด้านบนมีเลนส์ตา ส่วนปลายด้านล่างติดกับเลนส์วัตถุ ซึ่งติดกับแผ่นหมุนได้ เพื่อเปลี่ยนเลนส์ขนาดต่างๆ ปุ่มปรับภาพหยาบ (Coarse adjustment) ทำหน้าที่ปรับภาพโดยเปลี่ยนระยะโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุ (เลื่อนลำกล้องหรือแท่นวางวัตถุขึ้นลง) เพื่อทำให้เห็นภาพชัดเจน ปุ่มปรับภาพละเอียด (Fine adjustment) ทำหน้าที่ปรับภาพ ทำให้ได้ภาพที่ชัดเจนมากขึ้น เลนส์ใกล้วัตถุ (Objective lens) เป็นเลนส์ที่อยู่ใกล้กับแผ่นสไลด์ หรือวัตถุ ปกติติดกับแป้นวงกลมซึ่งมีประมาณ 3-4 อัน แต่ละอันมีกำลังบอกเอาไว้ เช่น x3.2, x4, x10, x40 และ x100 เป็นต้น ภาพที่เกิดจากเลนส์ใกล้วัตถุเป็นภาพจริงหัวกลับ เลนส์ใกล้ตา (Eye piece) เป็นเลนส์ที่อยู่บนสุดของลำกล้อง โดยทั่งไปมีกำลังขยาย 10x หรือ 15x ทำหน้าที่ขยายภาพที่ได้จากเลนส์ใกล้วัตถุให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดภาพที่ตาผู้ศึกษาสามารถมองเห็นได้ โดยภาพที่ได้เป็นภาพเสมือนหัวกลับ เลนส์รวมแสง (Condenser) ทำหน้าที่รวมแสงให้เข้มขึ้นเพื่อส่งไปยังวัตถุที่ต้องการศึกษา กระจกเงา (Mirror) ทำหน้าที่สะท้อนแสงจากธรรมชาติหรือแสงจากหลอดไฟภายในห้องให้ส่องผ่านวัตถุโดยทั่วไปกระจกเงามี 2 ด้าน ด้านหนึ่งเป็นกระจกเงาเว้า อีกด้านเป็นกระจกเงาระนาบ สำหรับกล้องรุ่นใหม่จะใช้หลอดไฟเป็นแหล่งกำเนิดแสง ซึ่งสะดวกและชัดเจนกว่า ไดอะแฟรม (Diaphragm) อยู่ใต้เลนส์รวมแสงทำหน้าที่ปรับปริมาณแสงให้เข้าสู่เลนส์ในปริมาณที่ต้องการ แท่นวางวัตถุ (Speciment stage) เป็นแท่นใช้วางแผ่นสไลด์ที่ต้องการศึกษา ที่หนีบสไลด์ (Stage clip) ใช้หนีบสไลด์ให้ติดอยู่กับแท่นวางวัตถุ ในกล้องรุ่นใหม่จะมี Mechanical stage แทนเพื่อควบคุมการเลื่อนสไลด์ให้สะดวกขึ้น
CCD และ CMOS แตกต่างกันอย่างไร? ซึ่งมีหน้าที่รับแสงที่เข้ามาแล้วเปลี่ยนค่าแสงนั้นๆเป็นสัญญาณดิจิตอล ซึ่งในปัจจุบันก็คงมี Sensor รับภาพอยู่ 2 แบบใหญ่ๆ ซึ่งก็คือ CCD (ซีซีดี) และ CMOS (ซีมอส) เป็นหัวใจสำคัญ
CCD ย่อมาจาก Charge Coupled Device เป็น Sensor ที่ทำงานโดยส่วนที่เป็น Sensor แต่ละพิกเซล จะทำหน้าที่รับแสงและเปลี่ยนค่าแสงเป็นสัญญาณอนาล็อก
CMOS (Complementary Metal Oxide Semiconductor ) สําหรับ CMOS ยอมาจาก Complementary Metal Oxide Semiconductor เป็นเซ็นเซอร์แสงที่พัฒนามาจากเทคโนโลยีสารกึ่งตัวนํา ภายในชิปจะมีเซ็นเซอร์ เล็กๆจัดเรียงกันอยู่เป็นจํานวนมาก ซึ่งภายในเซ็นเซอร์นั้นจะมีสวนที่หน้าที่รับแสง และส่วนที่ทําหน้าที่เป็น converter แปลงสัญญาณแสงเป็น สัญญาณดิจิตอลอยูใน เซ็นเซอร์ตัวเดียวกันทําให้สัญญาณที่ออกจาก ตัวเซ็นเซอร์ CMOS จึงเป็นสัญญาณดิจิตอลเลย เป็น Sensor ที่มีลักษณะการทำงานโดยแต่ละพิกเซลจะมีวงจรย่อยๆเปลี่ยนค่าแสงที่เข้ามาเป็นสัญญาณดิจิตอลในทันที ไม่ต้องส่งออกไปแปลงเหมือน CCD ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบสัญญาณอนาล็อก แล้วเปลี่ยนค่าแสงนั้น ซึ่งเป็นสัญญาณแบบอนาล็อก ไปเป็นสัญญาณแบบดิจิตอล วงจรเซ็นเซอร์ CMOS สรุปข้อแตกต่างระหว่าง CCDและCMOS เจ้า CMOS เนี่ยจะมีวงจรแปลงสัญญาณของแสงในแต่ละพิกเซล ส่วนเจ้า CCD จะเป็นตัวรับแสงเพียงอย่างเดียว และค่าที่ส่งออกมาจะได้ออกมาให้วงจรที่มีหน้าที่แปลงสัญญาณอีกที Len Microscope ความรู้ทั่วไปของเลนส์กล้องจุลทรรศน์ กล้องจุลทรรศน์ Video Microscope เป็นกล้องไมโครสโคปที่สามารถปรับซูมกำลังขยายได้อย่างต่อเนื่อง และยังมี อุปกรณ์เสริมต่างๆ ที่ใช้ประกอบเพื่อเพิ่มความสามารถกำลังขยายของกล้องจุลทรรศน์ หรืออาจจะลดช่วงกำลังขยายได้อีก
Len Microscope เลนส์ที่ใช้กันในปัจจุบันกำลังขยายจะอยู่ที่ 20 จนไปถึง 135x กำลังขยาย Stand ของ Video Zoom Microscope ยังสามารถเพิ่มมุมมองในการดูชิ้นงานในมุมต่างๆได้โดยการเพิ่มอุปกรณ์เพียงบางชิ้นเท่านั้น
Len สำหรับ High Magnification upper 1,000x ซึ่งเราสามารถใช้เลนส์ของกล้อง Compound Microscope ไม่ว่าจะเป็นเลนส์ของกล้องจุลทรรศน์จุลชีวะ Biological Microscope หรือกล้องดูโลหะ Metallurgical Microscope ก็ได้ ทำให้สามารถใช้เลนส์ประเภทนี้ซูมกำลังขยายต่างๆได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งกล้อง Compound ไม่สามารถทำได้ Stereo Microscope กล้องจุลทรรศน์ ชนิด สเตอริโอ ไมโครสโคป สเตอริโอไมโครสโคป Stereo Microscopes กล้องสเตอริโอไมโครสโคป เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลายส่วนมากจะใช้ด้านอุตสาหกรรม ทั้งอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือแม้แต่จีเวลลี่ และการตรวจสอบชิ้นงานทั่วๆไป กล้อง stereo microscope มีทั้งแบบปรับซูมได้ แบบปรับสองกำลังขยาย หรือแบบฟิกกำลังขยาย โดยทั่วไปแล้วกล้องจุลทรรศน?ชนิดนี้ จะเป็นกล้อง Low Magnification หรือกล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายไม่สูงมาก ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว Stereo Microscope นั้น จะมีกำลังขยายไม่เกิน 100 แต่ว่ามันสามารถปรับ Zoom เพื่อขยายได้ แต่ยังสามารถต่อเข้ากับกล้อง CCD Camera ได้อีกด้วย - Dual Zoom จะเป็นการปรับหมุนที่ Objective Len เพื่อเปลี่ยนค่ากำลังขยาย แต่มันสามารถปรับกำลังขายได้เพียงแค่ 2 ค่าเท่านั้น - Zoom Stereo Microscope สามารถปรับกำลังขยายได้โดยจะออกมาเป็นสเกล 0.7 x - 4.5 x ทั้งนี้มันสามารถปรับกำลังขยายได้ต่อเนื่องตามในช่วง 7x - 45x เท่านั้น Biological Microscope กล้องจุลทรรศน์ทางชีววิทยา กล้องจุลทรรศน์ทางชีวิทยา เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้ปฏิบัติการภายในห้องทดลอง (Laboratory) เป็นส่วนใหญ่ มักจะใช้เพื่อส่องโครงสร้างของเซลล์ ไว้สำหรับงานวิจัยระบบโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก กล้องจุลทรรศน์ชนิดนี้จึงมีกำลังขยายที่สูง สามารถดูค่าความละเอียดได้ถึง 1000 เท่า เลยทีเดียว และ Biological Microscope ยังสามารถต่อเข้ากับจอ Monitor หรือ Computer ได้อีกด้วย ส่วนงานที่ใช้ของกล้องจุลทรรศน์ตัวนี้จะนิยมใช้กันในสถานศึกษา คลีนิก โรงพยาบาล งานวิจัย และภายในห้องแล็ปมหาวทิยาลัยต่างๆ กล้องจุลทรรศน์ตรวจสอบจุลภาคโลหะ Metallurgical Microscope เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้สำหรับงานโลหะวิทยา ง่ายๆก็คือเป็นกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมนั้นแหละ เพียงแต่ใช้ไว้สำหรับวิเคราะห์เพื่อดูพื้นผิวของชิ้นงานชนิดที่เป็นโลหะ เพื่อนำมาวิเคราะห์โครงสร้างชิ้นงานโลหะ หรือโลหะผสม การใช้กล้องจุลทรรศน์ Metallurgical Microscope สามารถตรวจสอบศึกษาวุตถอื่นๆได้โดยมีคุณสมบัติทางกายภาพ และเจ้ากล้องจุลทรรศน์ตัวนี้ สามารถจำแนกส่วนประกอบของชิ้นงานและส่วนผสมพื้นผิวโครงสร้างโลหะ ดังนั้น กล้องจุลทรรศน์ตรวจสอบจุลภาคโลหะ Metallurgical Microscope ตัวนี้ จึงนิยมใช้กันในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อผลิตชิ้นงานโลหะ หรือวัสดุอื่นๆได้ เพื่อตรวจสอบคุณภาพของโลหะว่าได้มาตราฐานหรือไม่ กล้องจุลทรรศน์ตรวจสอบจุลภาคโลหะ Metallurgical Microscope ชนิดนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ - Upright Metallurgical Microscope เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่สามารถมองวัตถุจากด้านบน แล้วปรับเลื่อนชิ้นงาน
- Invert Metallurgical Microscope เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่ต้องใช้การขัดเนื้อโลหะจนไปถึงชิ้นเหล็ก ส่วนใหญ่มักจะใช้กับวัตถุชิ้นงานโลหะขนาดใหญ่และไม่สามารถดูโครงสร้างแบบ Upright ได้ แต่เจ้าตัวนี้ จะใช้การส่องจากด้านใต้แทน นั้นเอง
หากท่านสนใจสินค้า คลิ๊กที่นี่ |
สาระน่ารู้ เครื่องทดสอบความทนทานงานก่อสร้าง Pull Out Tester สาระน่ารู้เครื่องวัดอัตราการหลอมไหล Melt Flow Tester สาระน่ารู้ เครื่องวัดความหนาแน่น ความพรุนชิ้นงาน Densimeter Density สาระน่ารู้ เครื่องวัดความแข็งอลูมิเนียม Barcol Impressor สาระน่ารู้ โคมไฟแว่นขยายหรือโคมไฟเลนส์ขยาย Magnifying Lamp สาระน่ารู้ การแก้ไขคอมพิวเตอร์เบื้องต้น สาระน่ารู้ เครื่องปั้มชิ้นงานอัตโนมัติ Press Machine สาระน่ารู้ กล้องตรวจจับความร้อน Thermal Imager สาระน่ารู้ เครื่องวัดความหนา ระบบUltrasonic สาระน่ารู้ เครื่องวัดเฉดสี เปรียบเทียบสี ทดสอบสี Spectrophotometer & Colorimeter สาระน่ารู้ เครื่องวัดความเงา Gloss Meter สาระน่ารู้ เครื่องวัดแรงดึงแรงกด Force Gauge สาระน่ารู้ เครื่องวัดความแข็งโลหะ Hardness สาระน่ารู้ เครื่องวัดความแข็งยาง Durometer สาระน่ารู้ เครื่องวัดชิ้นงานละเอียดชนิดแสงเงา Profile Projector สาระน่ารู้ เครื่องวัดชิ้นงานละเอียด Video Measuring Machine สาระน่ารู้ เครื่องวัดความหนาขวด Wall Thickness |