สาระน่ารู้ การแก้ไขคอมพิวเตอร์เบื้องต้น สาระน่ารู้ การแก้ไขคอมพิวเตอร์เบื้อต้น อิโตคินเทคโนโลยี ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับด้านคอมพิวเตอร์นะครับ การที่จะมาเป็นคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง ควรจะมีส่วนประกอบใดบ้าง ? บางคนยังเรียก คอมพิวเตอร์ว่า CPU จริงๆ มันไม่ใช่นะ เจ้า CPU เนี่ยมันคือชิฟเล็กๆเพียงเท่านั้น จะว่าไปแล้วเรามาดูส่วนประกอบของมันเลยดีกว่าว่ามีอะไรกันบ้าง? เมนบอร์ (Mainboard) อุปกรณ์หลัก ถ้าเปรียบ เมนบอร์ดเป็นชิ้นส่วนของร่างกายคือหัวใจหลักของชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์เลย เนื่องจากเป็นเมนบอร์ด คือแผงวงจรหลักที่เป็นตัวเชื่อมให้อุปกรณ์ต่างๆให้ทำตามคำสั่ง อาทิเช่น ซ็อกเก็ตอุปกรณ์เพื่อเชื่อมต่อ เช่น CPU , RAM , HDD, เมนบอร์ดจะรับส่งข้อมูลต่างๆไปยัง CPU เพื่อสั่งการ และคอยประมวลผลจาก CPU ไปยังอุปกรณ์ต่างๆอีกเช่นกัน
พาวเวอร์ซัพพาย (Power Supply) เป็นอุปกรณ์จ่ายไฟจากกระแสไฟสลับ AC ให้เป็นกระแสไฟตรง DC และแปลงสัญญาณไฟฟ้าเพื่อไปหล่อเลี้ยงให้กับอุปกรณ์อื่นๆในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การจ่ายไฟ 5 โวลต์ให้กับอุปกรณ์วงจรชิ้นส่วนต่างๆ และจ่ายไฟ 12 โวลด์ ให้กับอุปกรณ์ดิสก์ไดรว์ต่างๆ รวมไปถึงพัดลมระบายความร้อนด้วย หากจะเลือก พาวเวอร์ซัพพลายที่เหมาะสมกับท่าน ควรจะเลิือกที่มีการเก็บเพียงพอต่อการใช้งานกับอุปกรณ์ หรือสูงกว่า อุปกรณ์ที่เปรียบเทียบกับร่างกายมนุษย์น่าเป็น "ปาก"
แรม (RAM) เป็นอุปกรณ์หน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทที่ว่า เมื่อเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมา แรมจะช่วยอ่านและเขียน ข้อมูลลงไปได้ตลอดเวลา แรมจะทำงานร่วมกับ CPU ในทุกจังหวะการทำงานของ CPU เปรียงเหมือนอวัยวะ แขน ขา ของมนุษย์เลยก็ว่าได้ ลองคิดตามนะครับ หากเราใส่แรม 8 G 2 ตัว รวมกันเป็น 16 G นั้นหมายความว่าเราจะมีแขนมีขาเหมือนทศกันต์ เลยทีเดียว (ต้องดูความจุของเมนบอร์ดด้วยนะครับว่า สามารถรับได้เท่าไร)และ แรม RAM ยังสามาเพิ่มการทำงานของโปรแกรมให้รวดเร็วขึ้นเปิดโปรแกรมไวขึ้น ได้อีกเช่นกัน
ซีพียู (CPU) Central Processing Unit เมื่อคอมพิวเตอร์มีปัญหาหลายคนกำลังเรียกคอมพิวเตอร์เหมารวมกันว่า "CPU พัง" "CPU เปิดไม่ติด" จริงๆแล้ว ไม่ใช่นะ เจ้า ซีพียูเนี่ย มันเป็นเพียงชิพเล็กๆเพียงเท่านั้น ซึ่งมีจำนวนสิบล้านตัวเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่อง ซึ่งหากเปรียบเหมือนร่างกายมนุษย์ มันจะเป็น สมอง เพื่อใช้สั่งการ อุปกรณ์ต่างๆให้ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการรันโปรแกรม เปิดโปรแกรม ซีพียู จะคอยประมวลผลแล้วรันโปรแกรมนั้นๆ ขึ้นมา และการคิดวิเคราะห์ข้อมูล หรือแม้แต่อุปกรณ์ต่างๆภายในเครื่อง "CPU เนี่ย มันเสียยากที่สุดแล้วของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ฉะนั้นแล้ว อย่าไปโทษเจ้านี่นะหากคอมพิวเตอร์มีปัญหา"
ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เป็นอุปกรณ์ที่เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆของคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นระบบโปรแกรมต่างๆหรือข้อมูลของคุณมาในโปรแกรมประยุกต์ หรือแฟ้มเอกสารต่างๆ แล้วจะถูกเก็บรักษาไว้ที่เจ้านี่ หากเจ้าฮาร์ดดิสก์นี้ พังหรือเสียหายขึ้นมาละก็ ข้อมูลของเราก็จะหายไปด้วยเช่นกัน คนส่วนใหญ่นิยมแบ่ง ฮาร์ดดิสก์ไว้ 2 ไดร์ เพื่อการสำรองข้อมูล 1 (D:) และเพื่อให้เป็นระบบปฏิบัติการไว้ อีก 1 เช่น(Windows) เพื่อใช้ในการรันโปรแกรม อื่นๆในระบบ ดังนั้นสมมุติว่า ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) ที่ท่านใช้มีจำนวน 1 TB (Terabyte) ซึ่งมีความจุมากถึง 1,000,000,000,000 (หนึ่งล้านล้านไบต์) หากเราต้องการ อัตราส่วน ที่ 100 GB (Gigabyte) เพื่อใช้สำหรับระบบปฏิบัติการ ควรจะแบ่งในอัตราส่วนที 1024 x 100 = 102400 ไบต์ ซึ่งจะได้เท่ากับ 100 GB (Gigabyte) นั้นเอง ส่วน 900 GB (Gigabyte) ที่เหลือ ก็จะเป็นระบบเก็บข้อมูลหรือสำรองข้อมมูลไว้นั้นเอง ซึ่งการทำวิธีนี้ หากระบบปฏิบัติการของเราเกิดปัญหา อาทิเช่น ไวรัส Windows ล้ม หรือบางทีอาจช้าจนเรารำคาญ เป็นต้น ก็ลงใหม่Windows ใหม่ เพียงแค่นั้น โดยที่การสำรองข้อมมูลยังอยู่ที่ไดร์ D: ยังไงละ ปล. ปัจจุบันยังมี SSD (Solid State Drive)เข้ามาแล้ว ความสามารถเหมือน HDD แต่มีความเร็วสูงมากกว่า HDD ถึง 10กว่า เท่า ในการรันโปรแกรมแต่ต้องแลกมาด้วยหน่วยเก็บข้อมมูลที่น้อยกว่า และมีราคาสูงมาก
โดยรวมแล้วอุปกรณ์เพียงเท่านี้ก็ประกอบเป็นคอมพิวเตอร์ได้ 1 เครื่องแล้ว แต่ว่ายังไม่สมบูรณ์เท่านั้นเอง ดังนั้นแล้วเรามาต่อกันอุปกรณ์พ่วงเพิ่มเติม การเข้าหน้าไบออส (Bios) สำหรับคอมพิวเตอร์พกพา Notebook แต่ละยี่ห้อ
การเข้าหน้าไบออส (Bios) สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ PC แต่ละยี่ห้อ
---- เขียนและเรียบเรียงโดย นายชาญวิทย์ แก้วงาม Marketing Itokin Technology |
สาระน่ารู้ เครื่องทดสอบความทนทานงานก่อสร้าง Pull Out Tester สาระน่ารู้เครื่องวัดอัตราการหลอมไหล Melt Flow Tester สาระน่ารู้ เครื่องวัดความหนาแน่น ความพรุนชิ้นงาน Densimeter Density สาระน่ารู้ เครื่องวัดความแข็งอลูมิเนียม Barcol Impressor สาระน่ารู้ โคมไฟแว่นขยายหรือโคมไฟเลนส์ขยาย Magnifying Lamp สาระน่ารู้ เครื่องปั้มชิ้นงานอัตโนมัติ Press Machine สาระน่ารู้ กล้องตรวจจับความร้อน Thermal Imager สาระน่ารู้ เครื่องวัดความหนา ระบบUltrasonic สาระน่ารู้ เครื่องวัดเฉดสี เปรียบเทียบสี ทดสอบสี Spectrophotometer & Colorimeter สาระน่ารู้ เครื่องวัดความเงา Gloss Meter สาระน่ารู้ เครื่องวัดแรงดึงแรงกด Force Gauge สาระน่ารู้ เครื่องวัดความแข็งโลหะ Hardness สาระน่ารู้ เครื่องวัดความแข็งยาง Durometer สาระน่ารู้ กล้องตรวจส่องชิ้นงาน Micro Scope สาระน่ารู้ เครื่องวัดชิ้นงานละเอียดชนิดแสงเงา Profile Projector สาระน่ารู้ เครื่องวัดชิ้นงานละเอียด Video Measuring Machine สาระน่ารู้ เครื่องวัดความหนาขวด Wall Thickness |