สาระน่ารู้ เครื่องวัดชิ้นงานละเอียดชนิดแสงเงา Profile Projector Profile Projector เครื่องวัดขนาดชิ้นงานละเอียดชนิดแสงเงา
การวัดงานด้วยเครื่องวัดชิ้นงานแบบแสงเงา (Profile Projector) เครื่องวัดชิ้นงานแบบแสงเงา (PROFILE PROJECTOR) เป็นเครื่องมือวัดละเอียด สำหรับวัดชิ้นงานที่มีขนาดเล็ก ความละเอียดของเครื่องอยู่ในระดับ 1 ไมโครเมตร (= 0.001 มิลลิเมตร) โดยแสดงผลภาพเป็นแบบเงาของวัตถุในรูปแบบ 2 มิติ บนฉากรับภาพ หลักการของเครื่อง จะใช้หลักการสะท้อน และการหักเหของแสง ผ่านม่านกระจกเงา ตัวเลนส์เข้าสู่ฉากรับภาพ โดยแหล่งกำเนิดแสงของเครื่องจะถูกฉายผ่านตัววัตถุหรือชิ้นงาน ทำให้เกิดเป็นภาพเงาที่หลังเลนส์ซึ่งมีกระจกเงาลองรับ และสะท้อนเข้าสู่ฉากรับภาพ ที่มีขนาดใหญ่กว่าวัตถุ
เครื่องวัดชิ้นงานชนิดแสงเงา Profile Projector ยังสามารถแสดงรายละเอียดของผิวชิ้นงานได้โดยการฉายแสงจากด้านบนผ่านระบบเลนส์รวมแสง และสะท้อนกลับเข้าสู่ฉากรับภาพได้อีกด้วย
ลักษณะตัวอย่างภาพของเครื่องวัดชิ้นงานแสงเงา Profile Projector
การวัดขนาดงานจะวัดจากภาพเงาของวัตถุที่ถูกขยายแล้วจากระบบเลนส์ด้วยเครื่องมือวัดเวอร์เนียร์แบบออร์โตสเกลที่ติดอยู่บนแกน xy ของฐานวางชิ้นงาน ส่วนประกอบหลักของเครื่องวัดชิ้นงานแบบแสงเงา (Main Component of Profile Projector)
เครื่องประมวนค่าการวัดแบบ 2 มิติ และฟังก์ชันการทำงาน (2D Data Processing Unit and Function) จอแสดงตำแหน่งที่วัด: แสดงตำแหน่งที่ต้องวัดครั้งต่อไป (ไอคอนไฟกระพริบ) และตำแหน่งที่วัดแล้วเสร็จ (ไอคอนเป็นสีทึบไม่กระพริบ)
จอแสดงผลการวัด: แสดงค่าการวัดต่างๆ เช่น ระยะของแนวแกน xy ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง เป็นต้น
การวัดพื้นฐาน (Basic Measurement) การจัดแนวแกนก่อนการวัด จับชิ้นงานในแนวแกน xy ให้ขนาน หรือเกือบขนาน หรือทับแนวแกน xy ของเส้น Grid บนฉากรับภาพ
จากนั้นวัดตามลำดับ ที่เครื่องแสดงบนจอแสดงตำแหน่งที่วัด
กดปุ่มคำสั่งกำหนดแนวแกน แล้วตามด้วยคำสั่งจัดแนวแกนแบบที่ต้องการ ตามลำดับ
จากนั้นวัดตามลำดับ ที่เครื่องแสดงบนจอแสดงตำแหน่ง
ฟังก์ชันพื้นฐาน และการวัด การวัดวงกลม เลือกคำสั่งการวัดพื้นฐาน C จากนั้นวัดตามลำดับที่เครื่องแสดงบนจอแสดงตำแหน่งที่วัด ผลที่ได้จากการวัดวงกลม คือ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ซึ่งแสดงไว้ที่หน้าต่างแสดงผลการวัด เป็นระยะ D
การวัดมุม เลือกคำสั่งการวัดพื้นฐาน I โดยมีหลักการวัด คือ วันออกได้มุมใน วัดเรียงได้มุมประชิด
การวัดความกว้าง เลือกคำสั่งการวัดซับซ้อน L จากนั้นวัดตามลำดับที่เครื่องแสดงบนจอแสดงตำแหน่งที่วัด ผลที่ได้จากการวัดความกว้าง คือ ความกว้างของส่วนที่วัด ซึ่งแสดงไว้ที่หน้าต่างแสดงผลการวัด เป็นระยะ LC
การวัดระหว่างวงกลม 2 วง เลือกคำสั่งการวัดซับซ้อน N จากนั้นวัดตามลำดับที่เครื่องแสดงบนจอแสดงตำแหน่งที่วัด ในวงกลม A และ B ตามลำดับ
ผลที่ได้จากการวัดระยะระหว่าง 2 วงกลม คือ ความกว้างระยะเส้นรอบวงที่สั้นที่สุด LS, ความกว้างระยะระหว่างศูนย์กลาง LC และความกว้างระยะเส้นรอบวงที่ยาวที่
(เครดิต มหาวิทยาลัยธนบุรี) |
สาระน่ารู้ เครื่องทดสอบความทนทานงานก่อสร้าง Pull Out Tester สาระน่ารู้เครื่องวัดอัตราการหลอมไหล Melt Flow Tester สาระน่ารู้ เครื่องวัดความหนาแน่น ความพรุนชิ้นงาน Densimeter Density สาระน่ารู้ เครื่องวัดความแข็งอลูมิเนียม Barcol Impressor สาระน่ารู้ โคมไฟแว่นขยายหรือโคมไฟเลนส์ขยาย Magnifying Lamp สาระน่ารู้ การแก้ไขคอมพิวเตอร์เบื้องต้น สาระน่ารู้ เครื่องปั้มชิ้นงานอัตโนมัติ Press Machine สาระน่ารู้ กล้องตรวจจับความร้อน Thermal Imager สาระน่ารู้ เครื่องวัดความหนา ระบบUltrasonic สาระน่ารู้ เครื่องวัดเฉดสี เปรียบเทียบสี ทดสอบสี Spectrophotometer & Colorimeter สาระน่ารู้ เครื่องวัดความเงา Gloss Meter สาระน่ารู้ เครื่องวัดแรงดึงแรงกด Force Gauge สาระน่ารู้ เครื่องวัดความแข็งโลหะ Hardness สาระน่ารู้ เครื่องวัดความแข็งยาง Durometer สาระน่ารู้ กล้องตรวจส่องชิ้นงาน Micro Scope สาระน่ารู้ เครื่องวัดชิ้นงานละเอียด Video Measuring Machine สาระน่ารู้ เครื่องวัดความหนาขวด Wall Thickness |