รวม Checkline Force gauge
Force Gauge หรือที่หลายคนเรียกว่า Push-Pull Gague เป็นเครื่องวัดค่าแรงดึง แรงกด ของชิ้นงาน ใช้ได้หลายประเภท เป็นที่ใช้งานกันแพร่หลาย ในปัจจุบัน
ท่านสามารถเลือก Capacity ก็คือ แรงกด หรือแรงดึง ของเครื่อง|Force Gauge|Push Pull Gauge|ได้ ราคาของเครื่อง ตั้งแต่ DS-2 จนถึง DS-500 จะราคาเดียวกัน หากสังเกตุ เครื่องวัดแรงดึง เครื่องวัดแรงกด แต่ละModel จะแตกต่างกัน ที่ Resolution คือค่าความละเอียด หากสังเกตุว่า ถ้าเลือก Capacity ต่ำ Resolution จะละเอียดมาก หากเลือก Capacity สูง ก็จะมีค่าความละเอียดต่ำ ซึ่งหากให้ทางเราแนะนำ ก็คือ ท่านผู้ใช้ ควรจะเลือกว่า ท่านต้องการแรงดึงที่เท่าไหร่ สำหรับชิ้นงานของท่าน เช่น หากท่านต้องการดึงแค่ 20N แต่ไม่ต้องการ Resolution ละเอียดมาก ก็สามารถเลือก เผื่อไว้ให้สูงขึ้นได้ แต่เคยมี บางที่ ดูแต่ ค่าความละเอียด เป็นหลัก สั่งไม่ได้สังเกตุทำให้ ใช้งานไม่ได้ เครื่องวัดแรงดึง และ เครื่องวัดแรงกด เหล่านี้ ไม่สามารถดึงเกินแรงกด หรือแรงดึง ได้มาก หากเกิน ตัวเครื่องจะมีเสียงเตือน เพื่อแสดงให้รู้ว่า เราดึงเกิน ขนาด Load Cell แล้ว หากมีการใช้งานที่เกิน ขีดจำกัดมากเกินไปแล้ว จะทำให้ตัว Load Cell มีปัญหา ซึ่งส่วนนี้จำเป็นอย่างยิ่ง ถึงในเรื่องการรับประกัน ต้องไม่ใช้งาน เกินกว่าค่าที่กำหนด ส่วนนี้ท่านตัองระวัง ส่วนนี้เป็นเพียงการแนะนำ ผู้ใช้งานให้เลือกใช้งานได้อย่างถูกต้อง หรือโทรสอบถามได้ ตลอดเวลาครับ
Force Guage ,Push Pull เครื่องวัดแรงดึง แรงกด เครื่องทดสอบแรงดึง แรงกด ชนิด พกพา
Digital Forcegauge FG-3000
Digital Forcegauge FGE
Accuracy +-0.3%F.S. Memory 500 Data
Accuracy +-0.2% F.S.
Digital Forcegauge FGV-HXY
Digital Forcegauge FGV-XY
Accuracy +-0.2% F.S. Overload Capacity 150%
Accuracy +-0.2% F.S.
Digital Forcegauge M5-2 COF
Digital Forcegauge MG
Accuracy +-0.1% F.S.
Accuracy +-0.5% F.S. ±1 least significant digit
Digital Forcegauge Series-2
Digital Forcegauge Series-3
Accuracy +-0.5% F.S. Sampling Rate 500 Hz
Accuracy +-0.3% F.S. Sampling Rate 2,000 Hz
Digital Forcegauge Series-3i
Digital Forcegauge Series-4
Accuracy ±0.2% of full scale + sensor
Accuracy ±0.2% of Full Scale Sampling Rate 3,000 Hz
Digital Forcegauge Series-5
Digital Forcegauge Series-5i
Sampling Rate 7,000 Hz Accuracy ±0.1% of Full Scale
Accuracy ±0.1% of full scale + sensor
Digital Forcegauge Series-7
Digital Forcegauge Series-7i
Accuracy ±0.1% of full scale
Accuracy ±0.1% of full scale Sampling rate 14,000 Hz
Digital Forcegauge ZTA
Digital Forcegauge ZTA-DPU
Accuracy ± 0.2% F.S., ± 1 LSD
Accuracy ± 0.2% F.S., ± 1 LSD
Digital Forcegauge ZTA-LM
Accuracy ± 0.2% F.S., ± 1 LSD
Tag: เครื่องทดสอบแรงดึง, เครื่องทดสอบแรงกด, เครื่องวัดแรงดึง, เครื่องวัดแรงดึง,เครื่องวัดแรงดึงขนาดเล็ก,เครื่องทดสอบแรงดึงแรงกด พกพา,เครื่องมือที่ใช้วัดแรงดึง,เครื่องมือที่ใช้วัดแรง คือ,เครื่องวัดแรงดึง คือ,เครื่องมือวัดแรง คือ,เครื่องวัดแรงกดทับ,force gauge ราคา ,จำหน่าย FORCE GAUGE,PUSH PULL GAUGE,เครื่องวัดแรงดึง ,เครื่องวัดแรงกด,Test Stand,FB,SX,DS,DTW,DTG,VD-1000,VS,1000N,VS-500,VD,500,DC,DV-S,DU-S,DA-A,DTF,AFS-1000,AFK-500 TE
สาระน่ารู้ เครื่องวัดแรงดึง แรงกด ( FORCE GAUGE )
เราจะมาพูดกันถึงเรื่อง เครื่องทดสอบประเภทนี้ จำเป็นหรือไม่และมีความสำคัญอย่างไร ในการผลิตชิ้นงาน แต่ละประเภท และเหมาะสำหรับธุรกิจ ประเภทไหน ที่จะต้องใช้ เครื่องวัดแรงดึง เครื่องวัดแรงกด นี้ เครื่องวัดแรงดึง เครื่องวัดแรงกด หรือ ชื่อทาง ภาษาอังกฤษ เรียกได้ หลากหลายเช่น FORCE GAUGE หรือ PUSH PULL GAUGE , คือการ ทดสอบด้านแรง ผลักหรือดันชิ้นงานนั้นๆ เพื่อหาค่า แรงต้าน ทั้งแรงดึง และแรงกดดังนั้น หากเรามองดูสิ่งของรอบๆ ตัวเรา แทบทุกผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าเครื่องคิดเลข เมาส์ โทรศัพท์ ปากกา ทุกสิ่ง ทุกอย่างนี้ ต้องมีการทดสอบคุณภาพตามมาตรฐาน มอก ( มาตรฐานอุตสาหกรรม ) ดังนั้น โรงงานที่ผลิตที่จะขายสู่ตลาด ให้ผู้ใช้นั้น ต้องการการทดสอบ ว่า เครื่องคิดเลข นั้น มีแรงกดของปุ่ม เท่าไหร่ กี่ N, กี่ Kgf, หรือ กี่ Lbf ,N ย่อมาจาก นิวตัน Kgf ย่อมาจาก กิโลกรัมฟอซ , Lbf คือ ปอนด์ หรือ ปากกา กดด้านบน ต้องใช้แรงกด เท่าไหร่ แข็งไป หรือ อ่อนไป ซึ่งเหล่านี้ล้วน ต้องมีคำตอบ ทางตัวเลข และการคำนวณที่ดี เหมาะสม ต่อผลิตภัณฑ์ นั้น ๆหรือ การเปิดฝา น้ำอัดลมกระป๋อง แรงดึง เท่าไหร่ ถึงจะเหมาะสม เปิดแล้ว หักเพราะอ่อนเกินไป หรือ แข็งจน ผู้บริโภค เปิดยากทั้งนี้ สิ่งที่อธิบาย มาคงมองเห็นภาพ ไม่มากก็น้อย ดังนั้น เครื่องวัดแรงดึงเครื่องวัดแรงกด , FORCE GAUGE หรือ PUSH PULL GAUGE นั้น จึงถือว่ามีความจำเป็นต่อแทบ ทุกอุตสาหกรรม ต้องมีใช้ซึ่งเครื่องมือ ประเภทนี้ มีให้เลือก ดังนี้
1. เครื่องวัดแรงดึง ,เครื่องวัดแรงกด, FORCE GAUGE แบบ อนาล็อก ( Analog ) คือแบบเข็ม ดังตัวอย่างในภาพการใช้งานของเครื่องประเภทนี้ จะมี 2หัว บนและล่าง ฝั่งหนึ่งจะไว้ใช้กดทดสอบชิ้นงาน อีกด้าน จะไว้ใช้ดึงชิ้นงาน เพราะฉะนั้น ใช้งานดึงและกด คนละฝั่ง หน้าจอแสดงผลแบบ เข็ม หน่วยการทดสอบผู้ใช้งานต้องเลือกก่อนการสั่งซื้อให้ดี ว่า จะใช้เป็นหน่วยอะไร นิวตัน หรือกิโลกรัมการเลือกซื้อมาใช้ที่ถูกต้อง คือ ต้องเลือกแรง ให้สัมพันธ์กันกับงานที่จะทดสอบ เช่นเราผลิตปุ่มกด เครื่องคิดเลข เราต้องรู้ว่า มาตรฐานมอก ระบุว่า ด้วยแรงปุ่มกดนี้ ควรจะมีแรงที่เหมาะสมเท่าไหร่ กี่ นิวตันหรือกี่กิโลกรัมฟอซ ซึ่ง ถ้าเราไม่ทราบ แล้วเลือกซื้อเครื่องวัดแรงดึง หรือเครื่องวัดแรงกด มาใช้ อาจส่งผลให้ ค่าที่ออกมา อ่อนไป หรือ แข็งมากไป เช่น แรงกดตามมาตรฐาน มอก ระบุที่ 10N แต่ ไปเลือก ซื้อ รุ่น 5N มาใช้ก็จำทำให้ ใช้ไม่ได้ หรือ ระบุ 5N แต่ไปซื้อ 500N มาใช้ อาจจะกดแล้วเข็มไม่ทำงาน เนื่องจาก โหลดเซล นั้นมีความแข็งเกินไปด้วยช่วงค่าของโหลดเซล นั้นมี ค่าเริ่มต้น และ ค่าสูงสุด
2. เครื่องวัดแรงดึง เครื่องวัดแรงกด แบบ DIGITAL , หรือ DIGITAL FORCE GAUGE,DIGITAL PUSH PULL GAUGE เป็นเครื่องวัดแรงดึง แรงกด แบบดิจิตอลในวิธีการเลือกใช้ ไม่ต่างกับตัว อนาล็อก ในการเลือกค่าแรง ให้สัมพันธ์ กันกับ ชิ้นงานทดสอบ เพียงแต่ ระบบดิจิตอล นั้น ทำงานง่ายกว่า และ มีความละเอียดกว่า เช่น การอ่านค่าแบบ อนาล็อก นั้น ค่าความละเอียด อยู่ที่ 0.5N ส่วน แบบ ดิจิตอลค่าความละเอียด อยู่ที่ 0.1 หรือ 0.01N เป็นต้น นี่คือประการที่หนึ่งส่วน ข้อดีของเครื่องแบบ ดิจิตอลนี้ สามารถ เปลี่ยนหน่วยทดสอบ ได้ทั้งแบบ N, Kgf, Lbf ในเครื่องเดียว สลับกันไปมาได้ ต่างจาก เครื่องแบบอนาล็อก ที่ต้องเลือก ส่วนนี้ ก่อนการซื้อหามาใช้งานหากจะแปลงหน่วยนั้นต้องคำนวณ เอง ยังมีฟังก์ชั่น อื่นๆ มากมาย อาทิเช่น สามารถบันทึกข้อมูล หรือ Memory ตั้งค่าร้องเตือนเมือเกินค่าแรงที่เรากำหนดไว้ การใช้งาน ดึง และ การใช้งานกด ใช้ทดสอบในด้านเดียวกันทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยหลายๆ ด้าน การใช้งานทดสอบมากน้อยแค่ไหน คุ้มค่ากับการ เลือกซื้อมาใช้ แบบ อนาล็อก หรือ ดิจิตอลความละเอียด ที่ต้องการ การเก็บข้อมูล ต่างๆ เครื่องวัดแรงดึง เครื่องวัดแรงกด นี้ FORCE GAUGE, PUSH PULL GAUGE, ยังมีอุปกรณ์ พ่วงในการใช้งานอีกด้วย เช่น ยึดติดกับ แท่นกด แท่นดึง แบบManual หรือ แบบ Automatic อัตโนมัติ ดังภาพประกอบ
ทำไมจะต้องใช่ ร่วมกับ STAND หรือ แท่น เหล่านี้ ลองคิดดูว่า หากเราใช้มือถือเครื่องกดที่ชิ้นงานทดสอบ หรือ ดึงที่ชิ้นงานทดสอบด้วยแรงกระทำ จากผู้ใช้งาน ระหว่างการดึง หรือกด อาจส่งผลให้เกิดแรงเพิ่มขึ้น กับชิ้นงานทดสอบนั้น ๆ การเลือกใช้ แท่น แบบ Manualก็เพื่อให้ เกิดความ เที่ยงตรงที่มากขึ้นหรือการ เลือกใช้ แบบ Automatic ที่ควบคุม ความเร็วในระหว่าทำการทดสอบแรงดึง หรือแรงกด นั้น จะได้ค่าที่ เที่ยงตรงตามมาตรฐาน ที่ถูกต้อง นั่นเอง
บทความนี้ ทางบริษัท อิโตคิน เทคโนโลยี จำกัด ได้จัดทำขึ้น เพื่อให้ผู้ที่ต้องการ หาความรู้ เพิ่มเติมและเพิ่มความเข้าใจ ก่อนที่จะเลือกซื้อเพื่อประโยชน์ อันสูงสุด สามารถ สอบถาม ความรู้ ด้านเครื่องทดสอบแรงดึง เครื่องทดสอบแรงกด ทางเรายินดีให้คำปรึกษาและให้ความรู้ ฟรี ว่า ท่านต้องใช้เครื่องทดสอบอะไร จึงจะเหมาะสม หรือว่าด้วย ตาม มาตรฐาน ISO, ASTM, JIS อะไร ยินดีให้คำปรึกษา ตลอดเวลา สนใจตัวเครื่องวัดแรงดึงแรงกด คลิ๊กที่นี่
การใช้งาน Stand Force Gauge
คู่มือการใช้ Stand Electric Model VS-500
1. ปุ่มตั้งค่ารอบการทำงาน (0-9999 รอบ )
2. หน้าจอแสดงการทำงาน ( รอบ )
3. ปุ่มปรับความเร็ว 30-300 mm./min.
4. ปุ่มเปิด-ปิด
5. จุดเชื่อมต่อสายสัญญาณ ป้องกัน
6. ปุ่มเลื่อนลง
7. ปุ่มตั้งค่าการทำงาน Auto / Manual
8. ปุ่มเลื่อนขึ้น
9. ปุ่มหยุดการทำงาน Stop
10. Down limit ปรับระยะได้
11. Up limit ปรับระยะได้
คำอธิบาย
ปุ่มตั้งค่าการทำงาน Auto / Manual
เป็นปุ่มที่ทำหน้าที่สลับการทำงานระหว่างโหมด Automatic และโหมด Manual
Manual กดปุ่มค้างขึ้นหรือลงค้างไว้เครื่องจะทำงานแหละหยุดเมื่อปล่อยมือ
Automatic จะมีไฟสัญญาณสีแดงโฃว์สถานะการทำงานกดปุ่มขึ้นหรือลงหนึ่งครั้งเครื่อง
จะทำงานแหละหยุดเมื่อกด Stop
จุดเชื่อมต่อสายสัญญาณ ป้องกัน
ใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อกับเครื่องวัดแรงดึง ( Force Gauge ) ในระหว่างการทดสอบ หากเครื่องวัดแรงดึง เกิด วัดแรงเกินพิกัด ( Over load ) สายสัณญาณจะสั่งงานให้เครื่อง Stand Electric หยุดการทำงานทันที
Up limit
ในระว่างการใช้งานเครื่องหากกดปุ่มเลื่อนเครื่องขึ้นด้านบน เมื่อเครื่องเลื่อนไปชน limit เครื่องจะหยุดการทำงาน
Down limit
ในระว่างการใช้งานเครื่องหากกดปุ่มเลื่อนเครื่องลงด้านล่าง เมื่อเครื่องเลื่อนไปชน limit เครื่องจะหยุดการทำงาน
ขั้นตอนการทำงาน
1. เปิดเครื่องโดยการใช้ปุ่มเปิด-ปิด
2. ปรับระยะ Up limit, Down limit ตามความต้องการ
3. นำชิ้นงานทดสอบมาจับกับปากจับชิ้นงาน
4. ตั้งค่ารอบการทำงาน ( 0-9999 )
5. ปรับความเร็ว ด้วยปุ่มปรับความเร็วตามที่ต้องการ
6. เริ่มการทำงาน
กรณีใช้ โหมด Manual กดปุ่มเลื่อนขึ้นค้างไว้เครื่องจะเริ่มการทำงานและเลื่อนขึ้นด้านบนตามความเร็วที่กำหนด และจะหยุดการทำงานเมื่อปล่อยมือออกจากปุ่มกดหรือเครื่องเลื่อนขึ้นไปจนสัมผัส Limit
กรณีใช้โหมด Automatic เช่น ตั้งค่ารอบการทำงาน 5 รอบ เมื่อเริ่มการทำงานด้วยการกดปุ่มเลื่อนขึ้น 1 ครั้ง เครื่องจะทำการเลื่อนขึ้นด้านบนตามความเร็วที่กำหนดไว้ เมื่อเครื่องเลื่อนขึ้นไปจนสัมผัสกับ Limit บน เครื่องจะหยุดและเลื่อนลงด้านล่าง เมื่อเครื่องเลื่อนลงมาจนสัมผัสกับ Limit ล่าง ( นับเป็น 1 รอบ ) เครื่องจะหยุดและเลื่อนขึ้นด้านบนอีกครั้งจนสัมผัสกับ Limit บน และจะเลื่อนลงด้านล่างอีกครั้งมาสัมผัสกับ Limit ล่าง ( นับเป็น 2 รอบ ) เครื่องจะทำงานในลักษณะนี้ไปจนครบรอบที่ตั้งค่าไว้ คือ 5 รอบ และเครื่องจะหยุดการทำงานเมื่อเครื่องเลื่อนลงมาสับผัสกับ Limit ล่าง ในรอบที่ 5 หรือสามารถหยุดเครื่องได้เลยในระว่างการทดสอบโดยการกดปุ่ม Stop
7. นำชิ้นงานออกจากปากจับชิ้นงาน ( เสร็จสิ้นการทดสอบ )
หมายเหตุ
1. สายสัญญาณ ป้องกัน แนะนำให้ต่อสายสัณญาณไว้ตลอดเวลา เพื่อป้องกันอันตรายจะเกิดขึ้นกับเครื่องวัดแรงดึง ( Force Gauge )
2. ปุ่มปรับความเร็ว สามารถปรับได้ในระหว่างการทำงานหรือทดสอบ
3. หากเกิดความผิดปกติกับตัวเครื่อง ให้หยุดการใช้งานทันที
4. Stand Electric Model VS-500 สามารถให้กำลังดึงสูงสุดได้ 500 นิวตั้น ไม่แนะนำให้ใช้เครื่องวัดแรง ( Force Gauge ) ที่วัดค่าแรงได้มากกว่า 500 นิวตั้น มาใฃ้คู่กับตัวเครื่อง Stand Electric
VIDEO
VIDEO
(รีวิว) แท่นยึดเครื่องทดสอบแรงดึง-กด พกพา Stand Forgegauge
เป็นสแตนที่ไว้ใช้สำหรับ ยึดตัว Force Gauge หรือ Push pull Gague รุ่น FB/DS เพื่อให้ได้ค่าที่แม่นยำ ใช้งานสะดวกยิ่งขึ้น
VIDEO
VIDEO